/\/\/\/\...ถ้ามั่นใจว่าโรงเรียนของท่านมีกิจกรรมแปลกๆ และอยากเผยแพร่ กรุณาโทรมาที่ 089 841 3090 หรือ ส่งภาพและเรื่องราวมาที่ e-mail suminnt@yahoo.co.th... /\/\/\/\...





วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เปิด...โรงเรียนแปลกวันนี้ จะพาท่านผู้ชมไปที่ ร.ร.คูคำพิทยาสรรพ์ อ.ซำสูง...ครับ

            ท่านที่เคารพครับ บังเอิญผมเข้าไปศึกษาข้อมูลของโรงเรียนคูคำพิทยาสรรพ์ เรื่อง "การสอนวิธีเปิดและการวิจัยบทเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการคิตทางคณิตศาสตร์นักเรียน (Open Approach & Lesson Study)" ซึ่งโรงเรียนนี้ได้จัดกิจกรรมที่มีการปฏิบัติและผลงานอยู่ในแนวหน้า...บังเอิญไปพบกิจกรรมที่เห็นว่า"แปลก" คือโครงการเกี่ยวข้าวเกี่ยวใจใจเด็กไทยรักข้าว ก็เลยนำมาเสนอท่านผู้ชมได้อ่านเพื่อประเมืองปัญญา ต้องขออภัยท่าน ผอ.สมใจ มณีวงษ์ ที่นำมาเผยแพร่ต่อก่อนได้รับอนุญาต และใช้โอกาสนี้ขออนุญาตเลยนะท่าน...และขอขอบคุณมากครับ
                   --ครูคำมี--



board_b_home_1.gif


สู่ขวัญข้าว ขอขมาพระแม่โพสพ
           โรงเรียนคูคำพิทยาสรรพ์ อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น เป็นโรงเรียนต้นแบบในโครงการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Class) นอกจากจะมีตัวอย่างภาคปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ(Best Practice) ในการนำร่องการเป็นโรงเรียนต้นแบบการใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดแล้ว โรงเรียนคูคำพิทยาสรรพ์ยังมีโครงการที่สำคัญอีกโครงการหนึ่งนั่นก็คือ โครงการเกี่ยวข้าว เกี่ยวใจ เด็กไทยรักข้าว  ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐได้แก่ อำเภอซำสูง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขอแก่น เขต 4 รวมถึงโรงเรียนในเครือข่าย  และกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองของนักเรียน  ที่เน้นการมีส่วนร่วมจากชุมชนเพื่อมุ่งหวังให้นักเรียนเห็นคุณค่าข้าวไทย
ท่านผู้อำนวยการโรงเรียน นายสมใจ มณีวงษ์ เข้าร่วมพิธีสู่ขวัญข้าว ขอขมาพระแม่โพสพ
                ภายหลังที่ได้มีการหว่านดำ และบำรุงรักษาจนต้นข้าวที่ปลูกไว้บริเวณด้านหลังติดกับโรงเรียนคูคำพิทยาสรรพ์ได้ออกรวงสุกราวดั่งทองเต็มท้องทุ่งนา วันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 ทางโรงเรียนจึงได้จัดกิจกรรมวันเกี่ยวข้าง  เกี่ยวใจ เด็กไทยรักข้าว  โดยมีท่านนายอำเภอซำสูง เป็นประธานในงาน  ทั้งยังมีปลัดอำเภอ  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขอนแก่น เขต 4  ศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียน   ผู้อำนวยการจากโรงเรียนเครือข่าย รวมทั้งกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองของนักเรียนมาร่วมในงานอย่างคับคั่ง  ในการนี้ผู้ประสานโรงเรียน และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จากศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่นและนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา  สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ประจำอยู่โรงเรียนคูคำพิทยาสรรพ์ ก็ได้เข้าร่วมกิจกรรมกรเกี่ยวข้าวในครั้งนี้ด้วย
ทีมศึกษานิเทศก์
                ในงานมีพิธีสู่ขวัญข้าว เพื่อขอขมาพระแม่โพสพ  ในการเกี่ยวข้าว และการตีข้าว รวมทั้งโยนมัดฟางที่ตีแล้วลงในหลักไม้  แม้จะโยนมัดฟางลงบ้าง ไม่ลงบ้าง ก็เรียกเสียงเชียร์ และหัวเราะกันอย่างเป็นที่สนุกสนาน นักเรียนก็ได้เรียนรู้พิธีกรรมพื้นบ้านที่เกี่ยวกับข้าว  ครูผู้ทำหน้าที่พิธีกรก็ได้ชี้ให้นักเรียนดูพิธีกรรมเป็นระยะๆ   จากนั้นทั้งแขกผู้เกียรติของงาน  ผู้อำนวยการ คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 และช่วงชั้นที่ 3 ทุกคนก็ได้ร่วมแรงร่วมใจกันเกี่ยวข้าวในท้องนา แม้ว่าแดดจะแรงสักปานใด ทุกคนก็ยังคงสนุกสนานกับการเกี่ยวข้าว แม้จะมีข้าวที่ล้มซึ่งเกี่ยวยากบ้างก็ตาม  แต่ก็มีน้องๆ นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ตัวเล็กคอยบริการน้ำถึงทุ่งนากันอย่างไม่ขาดสาย  ข้าวที่ถูกเกี่ยวของแต่ละคนก็จะนำมาวางเรียงรายกันไปบนกอข้าว เพื่อตากทิ้งไว้ก่อนจะนำไปมัดรวมกันเพื่อนำไปตี  นักเรียนแต่ละคนมีทักษะในการใช้เคียวในการเกี่ยวข้าวเป็นอย่างดี   นักเรียนมีความระมัดระวังอย่างมากในการเกี่ยวให้ได้ทุกกอ เพื่อไม่ให้ได้มีข้าวเหลือทิ้งไว้ในนา  งานนี้แม้จะได้เหงื่อปานใดก็ตาม แต่ว่าแต่ละคน โดยเฉพาะกับนักเรียนของเราก็ได้เรียนรู้พิธีกรรม วัฒนธรรมเกี่ยวกับกับการเกี่ยวข้าว  คุณค่าของการเป็นชาวนา  ความสำคัญและที่มาของข้าวแต่ละเม็ดที่เลี้ยงประชากรของประเทศ   ท้ายสุด คนสังเกตชั้นเรียนท้องทุ่งนาวันนี้ก็เป็นปลื้มที่ได้เห็นภาพเหล่านี้ว่า บทเรียนของเราไม่ได้มีสอนแต่เพียงในชั้นเรียน   แต่ของบทเรียนเรายังถูกเติมเต็มด้วยประสบการณ์ตรงอันมีคุณค่าด้วยผืนนาข้าวที่พวกเขาปลูก และเกี่ยวด้วยมือของเขาเอง
ส่วนหนึ่งของพิธีสู่ขวัญข้าว
นักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของโรงเรียนมีโอกาสได้พบปะกับ ผอ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต 4 ข้างๆ ทุ่งนา
ทีมนักวิจัยคณิตศาสตรศึกษาร่วมแรงร่วมใจเกี่ยวข้าวกับนักเรียน
มาเรามาช่วยกัน
ทีมสวัสดิการจากช่วงชั้นที่ 1 ทำงานอย่างแข็งขัน
 หนูวางแผนกันมาก่อนแล้วนะค่ะว่าวันนี้ใครจะทำอะไร
Internship ก็ร่วมเกี่ยวข้าวในงานนี้ด้วย
คนใส่หมวกหน้าใสจัง นี้ขนาดแดดร้อนนะเนี่ย
ไม่ต้องรีบนะ ยังมีอีกหลายไร่
เริ่มร้อนแล้วนะ
ผอ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต 4 ร่วมตีข้าว เป็นขวัญกำลังใจ
Internship วรรณา ก็ตีข้าวกับเขาเป็นเหมือนกัน
ผลผลิตของวันนี้ ข้าวไทย กข 15 แห่งท้องทุ่งคูคำ


วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โรงเรียนบ้านเหล่าใหญ่ประชานุกูลเพิ่มพูนวัฒนธรรม

       เปิด...โรงเรียนแปลก ฉบับ วันนี้ จะพาไปชมเรื่องแปลกๆที่โรงเรียนบ้านเหล่าใหญ่ประชานุกูล
            โรงเรียนบ้านเหล่าใหญ่ประชานุกูล ตั้งอยู่ที่บ้านเหล่าใหญ่ ต.บ้านขาม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น อยู่ในกลุ่มเครือข่ายการศึกษาของเขตพื้นที่ ชื่อ "ศูนย์เครือข่ายพระธาตุขามแก่น" ปัจจุบัน นายอุดมพร กันทะใจ เป็นผู้อำนวยการ มีครู  ๕ คน นักเรียนประมาณ ๖๗ คน
             บ่ายวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ผู้อำนวยการสพป.ขอนแก่น เขต ๔ นายกิตติพศ พลพิลา นำคณะตรวจเยี่ยม   คน ได้แก่ รองฯไพสณ  ทาปลัด รองฯมั่นงคง ศรแก้ว ผอ.กลุ่ม เพ็ญศรี พรมเทศ คุณสุพัฒน์ จันทร์เปล่ง และผู้เขียน(ครูคำมี) เข้าเยี่ยมชม กิจกรรมที่โรงเรียน โดยบริบททั่วไป โรงเรียนสะอาด ร่มรื่น สวยงาม มีการวางผังและจัดและภูมิทัศน์ที่ลงตัว

              ขณะที่กำลังสนทนาถึงเรื่องการบริหารกิจกรรมของโรงเรียนและเรื่องอื่นๆทั่วไป พลันได้ยินเสียงดนตรีปี่มวยดังขึ้น ได้ทราบว่าคณะครูและนักเรียนกำลังเตรียมการแสดง"กิจกรรม"ให้คณะดู ทั้งหมดไม่รีรอเดินไปที่ศาลาพิธีหน้าสนามกีฬาเพื่อชมการแสดงทันที

การแสดงกิจกรรมที่ ๑ รำแม่ไม้มวยไทย
                       เด็กชายสองคน ตัวเล็กๆ แต่งตัวล้อกัน คนที่หนึ่งนุ่งผ้าแดงคาดพุงด้วยผ้าน้ำเงิน อีกคนนุ่งผ้าน้ำเงินคาดผ้าแดง ทั้งคู่ คาดศีรษะด้วยมงคล และลำแขนคาดเชือก
                      เมื่อสัญญาณปี่กลองดังขึ้นทั้งคู่ก็ลงสนาม แสดงท่าทางต่อสู้กันด้วยท่าแม่ไม้มวยไทยครบสูตร  นำความตื่นเต้นเร้าใจมาให้ผู้ชมเป็นอย่างมาก
                      อาจารย์ที่ฝึกสอน ชื่อ อาจารย์รุ่ง ร้อยพรมมา...มีหลายมุมมองของประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ อย่างน้อยก็เป็นการอนุรักษ์มวยไทย ซึ่งเป็นศิลปศาสตร์การต่อสู้ เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม และทำให้เกิดความสนุกสนาน
การแสดงกิจกรรมที่ ๒ รำกระบองเพลิง
                         อาจารย์รุ่ง ร้อยพรมมา ได้เสนอการแสดงของเด็กอีกชุดหนึ่ง ซึ่งตื่นเต้นเอามาก ๆ นอกจากเด็กที่แสดงแต่ละคนจะแสดงความสามารถในการหมุนควงกระบองเพลิงอย่างคล่องแคล่วทั้งด้านหน้าและด้านหลังแล้ว ยังมีการแสดงการต่อตัวควงกระบองเพลิงอีกด้วย...แม้โบราณจะกล่าวว่า"อย่าเล่นกับไฟ" แต่เด็กของบ้านเหล่าใหญ่ ไม่กลัวไฟ เล่นกับมันได้ดีทีเดียว...แต่ที่เสียวๆ ก็คนดูนั่นแหละ


การแสดงกิจกรรมที่ ๓  หมอน้อยหมอนวด
                    นอกจากกิจกรรมทั้ง ๒ ที่กล่าวมาแล้ว โรงเรียนบ้านเหล่าใหญ่ประชานุกูล ยังนำเสนอกิจกรรม"หมอน้อยหมอนวด"อีกด้วย อาจารย์ที่ฝึกสอน ต้องกราบขออภัยที่เก็บข้อมูลไม่สมบูรณ์ ถ้าดูจากภาพบนก็คือ อาจารย์ที่ถูกท่านรองฯมั่นคง บังอยู่ครึ่งหน้า นั่นแหละ
                    จากภาพข้างล่าง  อธิบายว่าก่อนที่จะนวดจะต้องไหว้ทำความเคารพ"ลูกค้า"ก่อนไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามจึงจะลงมือนวด ภาพใกล้สุด ลูกค้าในวันนั้น คือท่านผู้อำนวยการเขตฯ(กิตติพศ พลพิลา) ถัดไปคือผู้อำนวยการ จำนงค์ ไชยวรรณ และท่านรองฯ มั่นคง ศรแก้ว
                   หัตเวชเสีย ๕๐๐  บาท แต่ที่นี่จ่ายเท่าไรไม่ทราบ ลองถามท่านรองฯมั่นคงหน่อยว่า มีช้างโดดออกจากกระเป๋ากี่ตัว


   


                      
                                                                                   ก็แปลกดี แฮะ
              เปิด...โรงเรียนแปลก ฉบับปฐมฤกษ์ จะพาท่านผู้ชมไปเยี่ยมชมโรงเรียนบ้านโนนหัวช้าง ศูนย์เครือข่ายนางิ้วโนนสมบูรณ์ อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ท่าน ผอ.สุรศักดิ์ พลซา เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน มีนักเรียนประมาณ ๖๐ คน ครูอาจารย์ ๕ คน
                            ที่เราจัดขึ้นบัญชี"เปิด...โรงเรียนแปลก" ก็เพราะว่า โรงเรียนแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นประตูทางเข้า รั้วโรงเรียน บ้านพักครู ห้องสมุด และอาคารเรียน โรงอาหาร เสาธง เรือนพักสบาย เป็นสถาปัตยกรรมแบบ"พุทธศิลป์" ทั้งหมด
โรงเรียนบ้านโนนหัวช้าง อ.เขาสวนกวาง
จ.ขอนแก่น

         เป็นความโชคดีของชุมชน คือ "บ้านโนนหัวช้าง" ที่มีพระคุณเจ้า คือพระครูวิจิตรวัดดอกไม้ ยานนาวากรุงเทพฯ ได้จาริกแสวงบุญมาที่ อำเภอเขาสวนกวาง และเห็นว่าวัดบ้านโนนหัวช้างเป็นที่
รมนียสถาน เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม จึงได้มาพัฒนาวัดบ้านโนนหัวช้างขึ้นเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
        เป็นโชคดีขั้นที่สอง ที่โรงเรียนบ้านโนนหัวช้างตั้งอยู่ติดกับวัด พระครูท่านอยากสร้างอาคารเรียนให้วัด ในระยะแรกติดขัดในระเบียบราชการ คือท่านอยากสร้างอาคารตามแบบของท่าน แต่ทางราชการยังยึดตามแบบ สปช. อยู่ ก็เลยหยุดไว้ก่อน
        ขณะที่รอให้ทุกอย่างลงตัวท่านพระครูก็สร้างอาคารประกอบอย่างอื่นไปก่อน(ด้วยแบบ ด้วยทุน และแรง ซึ่งเป็นแรงงานพระสงฆ์ที่พระครูจัดหาเอง) อาคารที่สร้างคือห้องสมุด และบ้านพักครู    
        ในปีต่อมา ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสปช.กับสพท.(ป) ท่านพระครูก็ได้รับอนุญาตให้สร้างอาคารเรียน หลังที่ท่านเห็นในภาพที่นำเสนอไว้ เป็นอาคารที่สะท้อน ความเป็นไทย และมีความยืดหยุ่นเหมาะแก่การปรับใช้ของโรงเรียนขนาดเล็ก

            ตัวอาคาร ออกแบบให้ได้ห้องเรียนขนาดพอเหมาะกับจำนวนนักเรียน(พระท่านคิดได้เหมาะกับสภาพเป็นจริง ไม่แข็งกระด้างเหมือน.....??????ที่บังคับให้ทุกสิ่งต้องเป็นไปตามแบบที่กำหนด ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบหรือประโยชน์ใช้สอยเท่าไร) รูปแบบเป็นอาคารทรง"ลูกแม็กเย็บกระดาษ" ตรงกลางเป็นห้องเรียนที่กั้นเป็นห้อง แต่ประตูสามารถเปิดทะลุถึงกันได้ ในกรณีที่ครูสอน ๒ ชั้น เวลาสอนสามารถเดินทะลุไปอีกห้องหนึ่งได้ โดยไม่ต้องเดินอ้อมออกมาด้านนอก ที่ปีกอาคารทั้งสองด้าน จะเป็นห้องกิจกรรม และห้องพักครู โครงสร้างอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กที่แข็งแรงทั้งหลัง
           เป็นโรงเรียนที่อธิบายไปอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากคำว่า"แปลก" ดี ทั้งชุมชน ครู และนักเรียนมีความสุขจริงๆ ที่ได้โรงเรียนแบบนี้.....แปลกจริง แฮะ !

                                                                                       ครูคำมี